วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


Verb คือ คำที่บอกถึงการกระทำอย่างชัดเจน หรือ สถานะของการกระทำ เราเรียกว่า “คำกริยา”

ชนิดของคำกริยา

คำกริยาแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ Main verb  คือ คำกริยาหลัก Auxiliary  หรือ Helping Verb คือ กริยาช่วยแท้ และ modal verb คือ กริยาช่วยชนิดพิเศษ

1) Main Verb คือ “กริยาแท้หรือกริยาหลักของประโยค”   ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
Action verb คือ คำกริยาหลักของประโยคที่ “บอกการกระทำ” ของประทานประโยค หรือ สถานะของการกระทำหลัก ในประโยคนั้น ๆ
ตัวอย่างเช่น
Mark kicks the ball (Main Action Verb)
The dog scratched its back (Main Action Verb)
The wind rustled the leaves.(Main Action Verb)
                       
Linking Verb คือ “กริยาที่เชื่อมเสริม“ประธานของประโยคกับส่วนเสริมประธานประโยค ซึ่งอาจเป็นคำนาม หรือ
คำคุณศัพท์ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นการขยายความบอกกริยาลักษณะของประธาน
ได้แก่   be( is,am, are, was, were, being, been), appear, become, grow, prove,
remain, seem, turn และคำกริยาที่บ่งบอกประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่  look, sound,
smell, taste, feel
                       am a teacher. (Main Linking Verb)   
                       Sunny feels happy. (Main Linking Verb)   
                       Ron Swanson is the manager of the office.(Main Linking Verb)
ทั้ง Action verb และ Linking Verb สามารถใช้งานได้ 2 ลักษณะ คือ
Transitive Verb  คือ “กริยาที่ต้องการกรรมมารองรับ
เช่น sold,brought,is
                                              I sold some books. (Transitive Action Verb)
                                              I bought a radio. (Transitive Action Verb)
                                              My sister is at home.(Transitive Linking Verb)
Intransitive Verb คือ “กริยาที่ไม่ต้องการกรรมมารองรับ” แต่อาจมีส่วนขยายหรือไม่ก็ได้
เช่น  drink, move,are
                                              Cats drink. (Intransitive Action Verb)
                                              Buses move. (Intransitive Action Verb)
                                              Clocks are helpful. (Intransitive Linking Verb)
2) Auxiliary or Helping Verb (Auxiliaries) คือ “กริยาช่วยที่ใช้ประกอบคำกริยาแท้” ซึ่งช่วยบ่งบอกลักษณะการกระทำของประทานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
                        ได้แก่ be( is,am, are, was, were, being, been),  do(does,do,did), have, has,had ในรูปต่าง ๆ
                             คำกริยาเหล่านี้อาจเป็นได้ทั้งกริยาแท้ และกริยาช่วย
                                              He is a student. (Main Linking Verb)
                                              She is playing the piano. (is = helping verb, playing = Main Action verb)
                 
3) Modal Verb (Modals)   คือ “กริยาช่วยชนิดพิเศษ” ที่ทำให้กริยาแท้มีความหมายแตกต่างกันไป
ได้แก่ can, could, shall, should, will, would, may, might, must, ought to, need และ dare คำกริยาประเภทนี้จะใช้นำหน้าคำกริยาแท้ซึ่งอยู่ในรูป Verb base form(กริยาพื้นฐาน)
                                              He can speak Chinese.
                                              She should  be here by 9:00.
อย่างไรก็ตาม ตำราไวยากรณ์บางเล่มจัดให้ modal verb อยู่ในกลุ่มของกริยาช่วย
ประเภทหนึ่งเรียกว่า modal auxiliary verb โดยไม่แยกเป็นประเภทต่างหาก

ตำแหน่งของคำกริยา

โดยทั่วไปคำกริยาจะตามหลังประธานของประโยค” หากมีกริยาช่วย
กริยาแท้จะอยู่ตามหลังกริยาช่วย ยกเว้นในประโยคคำถามที่กริยาช่วยจะอยู่ในตำแหน่งหน้าประธาน
                                             I turned the page.(Main Action Verb)
                                             The dog scratched its back.
                                              Does he go to school?

รูปลักษณะของคำกริยา

คำกริยาจะมีรูปแบบ 5 รูปลักษณะดังนี้
รูป
สัญลักษณ์
ตัวอย่าง
1. รูปลักษณะที่ยังไม่ได้ผัน ( base form)Verb base formkick, eat, hit
2. รูปลักษณะที่ลงท้ายด้วย – s (-s form)Verb1kicks, eats, hits
3. รูปลักษณะอดีต ( past form)Verb2kicked, ate, hit
4. รูปลักษณะ present participleVerb ingkicking, eating, hitting
5. รูปลักษณะ past participleVerb3kicked, eaten, hit
                    การเปลี่ยนรูปของคำกริยานั้นมีอยู่ 2 กลุ่มคือ
1.Regular verbs คือ “รูปแบบการเปลี่ยนรูปแบบปกติ”  เช่น Verb1 – kick or kicks , Verb2 และ Verb3 – Kicked (อยู่ในรูป -ed)
2.Irregular verb คือ คือคำกริยาที่มีการเปลี่ยนรูปไปอย่างชัดเจน” เช่น Verb1- eat, Verb2 – ate, Verb3 – eaten

ขอขอบคุณ : http://www.studysquare.co.th/studyenglish/verb-

2 ความคิดเห็น: